วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สอบปลายภาค



1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บแล็ตเพื่อการศึกษา กลายเป็นเครื่องมือด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่สำคัญและมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่อการปรับใช้ในการสร้างมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยในปัจจุบันในยุคสังคมสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง  ซึ่งแนวนโยบายของรัฐบาลมุ่งเน้นที่จะใช้สื่อแท็บแล็ตให้ผู้เรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ โดยที่นโยบายของการปฏิบัติของนักเรียนช่วงแรกตามโครงการ One Tablet PC Per  Child จะมุ่งเน้นไปที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวนประมาณ539,466 คน เป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่สำคัญของการนำสื่อแท็บแล็ตสู่การพัฒนาการเรียนรู้ในครั้งนี้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต 
แท็บแล็ต พีซี -คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรกออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง"ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัวMicrosoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บแล็ตพีซี ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) " แท็บแล็ตพีซี ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
" แท็บแล็ตคอมพิวเตอร์  หรือเรียกสั้นๆว่าแท็บแล็ต Tablet" คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอ สัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ  ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุน หรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น " แท็บแล็ตคอมพิวเตอร์ เครื่องแรก
แหล่งข้อมูลจาก
http://www.tabletd.com/articles/289
http://graphics.sci.ubu.ac.th/wiki/index.php/Personal_Computer
http://www.moe.moe.go.th.pdf

2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งได้ลงนามกันที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
เมื่อแรกก่อตั้งในปี 2510 อาเซียนมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในเวลาต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 เมื่อปี 2527 เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เข้าเป็นสมาชิกพร้อมกันเมื่อปี 2540 และกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกล่าสุดเมื่อปี 2542 ทำให้ในปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งหมด 10 ประเทศ
Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลจริงๆจังๆ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 ณ วันนั้นจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปอย่างมากอย่างที่คุณคิดไม่ถึงทีเดียว
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
โดยให้แต่ละประเทศใน AEC ให้มีจุดเด่นต่างๆดังนี้
พม่า : สาขาเกษตรและประมง
มาเลเซีย : สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
อินโดนีเซีย : สาขาภาพยนต์และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
ฟิลิปปินส์ : สาขาอิเล็กทรอนิกส์
สิงคโปร์ : สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
ไทย : สาขาการท่องเที่ยว และสาขาการบิน (ประเทศไทยอยู่ตรงกลาง ASEAN)
การเตรียมตัวเป็นครูเพื่อไปสู่อาเซียน
ครูต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาคอาเซียน ครูจะต้องปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กมีทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนทางบวก และส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน
การเตรียมตัวเป็นนักเรียนเพื่อไปสู่อาเซียน
ความพร้อมเรื่องภาษา  และเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เข้าใจในศักดิ์ศรีความมีคุณค่า และการเปิดใจยอมรับความแตกต่าง ซึ่งทักษะเหล่านี้ เป็นทักษะสำคัญในการเตรียมตัวเป็นพลเมืองอาเซียนที่ดีและมีคุณภาพ หากไม่ได้เตรียมความพร้อมตั้งแต่ตอนนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอาเซียนได้
http://www.cityub.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1520:2012-02-29-05-22-33&catid=34:administrator&Itemid=65
http://signalkm.cloud.rta.mi.th/?p=459
http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=45&id=18905
3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
        การที่จะเป็นครูให้เป็นที่ยอมรับของนักเรียน ผู้ปกครอง หรือเพื่อนครูด้วยกันนั้น ครูนั้นจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถ  มีความรอบรู้ในด้านศาสตร์นั้น  ครูต้องสร้างแรงบันดาลใจ  สร้างแรงศรัทธาให้นักเรียนเกิดความรักในการที่จะเรียน สร้างความไว้วางใจต่อนักเรียน ยอมรับฟังในเหตุและผลของนักเรียน เข้าใจและเอาใจใส่  มีความยุติธรรมในทุกๆ ด้าน  และการที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนเก่งเป็นที่รักของทุกๆ คน  คนเป็นครูจะต้องสอนให้เด็กนักเรียนรู้จักแสดงออกซึ่งการเป็นผู้นำ  ท้าท้ายให้เด็กได้ใช้ความคิดเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร พิจารณาว่า  ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้อง
ในการเรียนรู้โดยใช้บล็อกฉันมีวิธีการเรียนรู้โดยการที่ เริ่มแรกศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนก่อน เมื่อเริ่มที่จะรู้ว่าการทำบล็อกทำอย่างไร ก็ลงมือทำและฝึกทำไปเรื่อยๆจนเกิดการเรียนรู้   ถ้าหากจะเรียนรู้โดนใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอการที่จะเรียนรู้ก็จะมากขึ้นเพราะเทคโนโลยียังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อย ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น และความรู้ที่เราใส่ลงไปในบล็อกก็ยังคงอยู่ เมื่อถึงเวลาที่เราอยากทราบเราก็สามารถกลับมาดูได้อีก 
ความคิดเห็นในการเรียนวิชาบล็อก วิชานี้ผมคิดว่าเป็นวิชาที่มีความทันสมัยเหมาะแก่การพัฒนาคุณภาพของตัวบุคคล เป็นรายวิชาที่นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาไปในทางที่ดี การพัฒนาในการใช้บล็อกในการศึกษาเราควรที่จะส่งเสริมเพื่อให้เป็นแกนสำคัญในการเผ่ยแพร่ความรู้
สำหรับคะแนนที่จะให้กับวิชานี้ข้าพเจ้าคิดว่ารายวิชานี้ที่ใช้บล็อกเป็นตัวกลางที่ให้ความรู้นี้ คะแนนสมควรที่จะได้เต็มทั่งในแง่ความทันสมัย ความประหยัด ลดภาวะลดร้อนโดยไม่ต้องใช้กระดาษในการเรียนเลย
สำหรับเกรดที่ต้องการข้าพเจ้าต้องการเกรด A ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยูกับผลงานที่เราทำลงไปด้วยคับ

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่9

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจ
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
       บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
           การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้าน นี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้ คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

กิจกรรมที่8

                                                        กิจกรรมที่8
    
ครูมืออาชีพรุ่นใหม่
การจะเป็นครูมื่ออาชีพนั้นประกอบด้วยสิ่งหลายๆอย่าง
      1.  อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้ 
      2.  ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าถาม 
      3.  อย่าทำให้ห้องเรียน หรือโรงเรียนเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว กดดัน 
      4.  แต่จะต้องไม่มีการปล่อยปะละเลยเรื่องกฎระเบียบต่างๆ 
      5.  ครูยังคงต้องรักษามาตรฐานต่างๆ ไว้ด้วย  
      6.  นักเรียนควรที่จะถูกฝึกให้สามารถประเมินความสามารถ และผลงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ลำเอียง คือ มีความรู้จักตนเอง
      7.  ครู โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 
      8.  เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติแล้ว การต่อยอดความคิดจะง่ายขึ้น 
      9.  ครูมืออาชีพต้องมีความสามารถในการขาย คือ  สามารถชี้แนะให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการเรียนในวิชาดังกล่าวได้  หลักสำคัญในการขายคือ การชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียน  นอกจากนั้น ครูควรที่จะให้ความสำคัญกับหลักสูตรที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เน้นถึงวิธีการประยุกต์ความรู้

      ครูมืออาชีพ" เป็นความคาดหมายของการปฏิรูปการศึกษาของชาติในครั้งนี้อย่างยิ่ง การเป็น
มืออาชีพของครู จะทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ 
หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจ
ในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ 
วัฒนธรรมของชาติ การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล
ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ 
รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น
ผลงานอันน่าภาคภูมิใจของ "ครูมืออาชีพ" โดยแท้


กิจกรรมที่7

                                                    กิจกรรมที่7


             ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ เรื่อง  และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
              เรื่องการหา ห.ร.ม. ในชีวิตประจำวัน   ผู้สอน ครูธัญรัศน์  ประเสริฐศรี   โรงเรียนกันทรารมณ์  จังหวัดศรีสะเกษ
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
              เนื้อหาที่ใช้สอนจะเกี่ยวกับเรื่องการหารลงตัว  การหาตัวประกอบ ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา   ครูจัดให้นักเรียนนั่งกันเป็นกลุ่ม  แล้วให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมารับภาพมังคุด  ดาว  และส้ม  หลัง จากนั้นครูก็ให้นักเรียนแบ่งภาพต่างๆ  ออกเป็นกลุ่มตามที่ครูบอก  เมื่อนักเรียนทำได้ตามที่ครูบอกครูก็จะให้นักเรียนแบ่งภาพกันเองโดยมี เงื่อนไขว่าแต่ละกองต้องเท่ากัน  การแบ่งภาพแต่ละกองให้เท่ากันแต่ละกลุ่มอาจจะได้คำตอบไม่เหมือนกันซึ่ง เรื่องนี้จะทำให้นักเรียนรู้เรื่องการหาตัวประกอบ  และการหาตัวประกอบร่วม  เมื่อนักเรียนหาตัวประกอบเป็นนักเรียนก็จะรู้ว่า ห.ร.ม.  คือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุด หลังจากนั้นครูก็ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นการบริจาคของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อให้นักเรียนจำจวนของแต่ละชนิดใส่ถุง ซึ่งก็คือการหา  ห.ร.ม.  ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์  ครูได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีการพูดคุยกับซักถามผู้เรียนอยู่เสมอ  และเมื่อผู้เรียนตอบครูก็ให้เพื่อนในห้องตบมือให้เพื่อน
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม   ครูได้มอบหมายงานให้นักเรียนทำและปลูกฝังความรับผิดชอบในการทำงานให้กับนักเรียน 
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
             บรรยากาศในการจัดห้องเรียนมีการจัดห้องเรียนอย่างสะอาด   มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย     โต๊ะ เก้าอี้   มีการจัดอย่างเป็นระเบียบโดยจัดเป็นกลุ่ม  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูน่าสนใจ  และตามฝาผนังห้องเรียนมีการจัดแต่งโดยการติดข้อความที่ให้ความรู้แก่นักเรียน

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่่ 6


กิจกรรมที่5

กิจกรรมที่4

กาทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี


ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
1.วิเคราะห์งาน
2.กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
3.วางแผนการทำงาน
4.กำหนดกิจกรรม
5.แบ่งงานให้สมาชิกของทีม
6.ปฏิบัติงานตามแผน
7.ติดตามผลและนิเทศงาน
8.ประเมินขั้นสุดท้าย
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพสมาชิกทุกคน จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเอง รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีแรงจูงใจของธรรมชาติของมนุษย์

2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่ายความไว้วางใจกัน เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน บทบาทสมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ

ตัวอย่าง ในการทำงานกลุ่มแต่ละครั้ง เมื่อเราได้รับมอบหมายงานมา สมาชิกในกลุ่มก็มาประชุมกัน เพื่อวิเคราะห์งานว่างานชิ้นนี้เราจะต้องมีเป้าหมายในการทำงานอย่างไร เมื่อกำหนดเป้าหมายเสร็จก็จะต้องมีการวางแผนในการทำงานเพื่อกำหนดกิจกรรมที่จะทำแล้วก็จะแบ่งงานให้กับสมาชิกแต่ละคน เมื่อทุกคนในกลุ่มเห็นด้วยกับการประชุมครั้งนี้ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติงาน ซึ่งในการทำงานสมาชิกทุกคนจะต้องมาร่วมกันประเมินผลและนิเทศงานของแต่ละคนซึ่งกันและกัน เมื่อเจอปัญหาก็จะต้องช่วยกันแก้ปัญหา และสุดท้ายเมื่องานเป็นไปตามแผนทุกคนในกลุ่มก็มาร่วมกันประเมินและรวบรวมงานออกมาเป็นที่สิ้นสุด

กิจกรรมที่3

กิจกรรมที่ 3

การจัดการเรียนการสอน ในยุคก่อนศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้จะเกิดในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นความรู้แบบท่องจำ ไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่มีการสิ้นสุด มีผู้ถ่ายทอดความรู้มาให้ และโรงเรียนต้องเป็นผู้กล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นคนดี ส่วนยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกแห่ง โดยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คนเรามีความจำไม่เท่ากันการเรียนรู้จึงไม่เน้นความจำ การเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตนเองเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ สังคมจะเป็นสิ่งกำหนดและกล่อมเกลาเราให้เป็นคนดี

แนวการจัดการเรียนรู้
จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ และในบางสถานการณ์ก็จะต้องมีการยืดหยุ่นบ้าง ครูจะต้องทันข่าวสาร และจะต้องรู้จักใช้แหล่งเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองและนักเรียนเสมอ โดยให้ผู้เรียนจัดการเรื่องการเรียนรู้ของตน และมีครูเป็นผู้คอยให้คำปรึกษา
สำหรับการเรียนรู้ในอนาคตนั้นคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น สื่อ และเทคโนยีก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ดังนั้นครูในอนาคตจะเป็นเพียงตัวแทนของการเรียนรู้เท่านั้น ครูจึงต้องเป็นผู้ที่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างชำนาญและมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมที่2

กิจกรรมที่ 2
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา

มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่

1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment)
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน ทฤษฎี A คือเป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกาการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นมีลักษณะการจ้างงานตลอดชีวิต
อังริ ฟาโยล (HENRI FAYOL)
มีประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการมีการจัดแบ่งงาน การมีอำนาจหน้าที่ ความมีวินัย เอกภาพของสายบังคับบัญชา เอกภาพในทิศทาง ผลประโยชน์ของหมู่คณะ มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ระบบการรวมศูนย์ สายบังคับบัญชา ความเป็นระบบระเบียบ ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคง การริเริ่มสร้างสรรค์ และวิญญาณแห่งหมู่คณะ
MAX WEBER
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า BUREAUCRACY เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น สรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
LUTHER GULICK
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะ รู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB (CO คือคำเดียวกัน)
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
นโยบายขององค์กร การบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
การทำงานบรรลุผลสำเร็จ การได้รับการยอมรับ ทำงานได้ด้วยตนเอง ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในงาน การเจริญเติบโต
ปัจจัยภายนอกนั้นจะเป็นแรงจูงใจที่สนองตอบต่อความต้องการภายนอกของคน ส่วนปัจจัยภายในจะเป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อคนมากกว่าปัจจัยภายนอก



หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา

บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความสำคัญของการบริหาร
การบริหารทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้ในสังคมที่มีความแตกต่างกัน การบริหารเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำสังคมและโลกไปสู่ความเจริญ และการบริหารจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลหลายๆ คนร่วมกันทำงาน การบริหารจะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมือง
ความหมายของการบริหาร
การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การบริหารจะเกดขึ้นได้เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันทำงาน
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหาร
การบริหารในยุคแรกๆ จะเป็นการบริหารที่เน้นพฤติกรรมและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าและต่อมา ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาสู้การบริหารที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษา
เมื่อมีโรงเรียนก็ต้องมีงานบริหารการศึกษาเกิดขึ้น นั่นก็คือจะต้องมีผู้ที่เข้ามาบริหารงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งงานบริหารการศึกษาจะเน้นหนักไปที่บุคลากร และการปฏิบัติงาน บุคลากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักเรียน ตลอดจนองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานบริหารการศึกษา
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
การบริหารการศึกษาเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาลในการบริหารประเทศ เป็นการบริหารธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในการบริหารการศึกษาผู้บริหารนั้นจะต้องรู้เกี่ยวกับหลักการบริหาร 2 เรื่อง คือ
1.การจัดระบบสังคม
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา
หลักการจัดระบบการศึกษา ไม่ว่าระดับใด จะต้องยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และมีการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้นๆ
บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ หมายถึง ระบบที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้นร่วมกันสร้างให้บุคคลเกิดปฏิสัมพันธ์ ในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์การในสถานศึกษามี 4 ระบบ
- ระบบโครงสร้างการบริหาร เน้น โครงสร้างกระบวนการ
- ระบบทางด้านเทคนิค เน้น วิธีการดำเนินงานการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ระบบสังคม เน้น การทำงานของคนในองค์การร่วมกันด้วยดี
- ระบบกิจกรรมและการทำงาน เน้น ทั้งการผสมและการให้ริการ
การจัดองค์การ มีความสำคัญมาก จึงต้องมีการจัดแบ่งหน้าที่การทำงาน และมอบอำนาจในการรับผิดชอบหะเหมาะสมตามความสามารถและความถนัด
บทที่ 6
การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร หมายถึง การติดต่อเกี่ยวข้องและประสานงานกันระหว่างบุคคล โดยอาศัยวิธีการถ่ายทอด และการรับข้อมูล การติดต่อสื่อสารจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์และทำลายความสัมพันธ์ของคนในหน่วยงาน
การติดต่อสื่อสารจึงมีความสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน นอกจากจะมีความจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์แล้วยังมีความสำคัญในการดำเนินการในองศ์การอย่างมาก เพราะองค์การนับวันจะมีโครงสร้างการบริหารงานที่ซับซ้อนมากขึ้น
บทที่ 7
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ลักษณะประจำตัวผู้นำ คือ มีลักษณะเฉพาะตัว มีความรู้ความสามารถ มีความตั้งใจสูง มีความรับผิดชอบ มีความเป็นธรรม มีใจกว้าง มานะทางสังคม มีศิลปะในการนำ
การที่จะเป็นผู้นำนั้นจะต้องทำงานด้วยความเต็มใจ ทำตามหน้าที่ของผู้นำได้อย่างครบถ้วนเพื่อให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน คือการจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งเดี่ยวกัน ไม่ทำงานขัดแย้งกัน เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์การ
ภารกิจในการประสานงานที่ดี ควรทราบถึงภารกิจที่ดีในการประสานงาน จะต้องอยู่ในขอบข่ายเรื่องต่อไปนี้ คือ นโยบาย ใจสมาชิก แผนงาน งานที่รับผิดชอบ คนในองค์การและทรัพยากร
หลักการประสานงานควรจัดให้มีระบบในการสื่อสารที่ดี ความร่วมมือที่ดี การประสานงานที่ดีและจัดให้มีการประสานนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์การให้สอดคล้องกัน สุดท้ายต้องจัดให้มีการป้อนงานในรูปแบบที่ครบวงจร
การประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีโครงสร้างของการบริหารที่ชัดเจน มีแผนภูมิแสดงการบังคับบัญชา มีการเขียนนโยบาย ข้อบังคับ มีเครื่องมือสื่อสารที่ดี มีความรู้สูง มีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางาน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ เป็นการกระทำโดยปัจเจกบุคคลในองค์การ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายขององค์ที่ได้กำหนดเอาไว้
ประโยชน์ที่ได้จากการตัดสินใจ มีดังนี้ ทำให้งานเสร็จตามวัตถุประสงค์ เกดการประสานงานที่ดี มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการพัฒนาตนและพัฒนางาน และก่อให้เกิดความสงสุขในองค์การ
โทษของการตัดสินใจ ถ้าการตัดสินใจเกิดผิดพลาดอาจทำให้องค์การล้มเหลว ดังนั้นผู้บริหารงานจะต้องรอบคอบในการตัดสินใจ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ เป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ และยังมีงานอื่นๆ อีกมากมาย
2.การบริหารบุคคล คือ การจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุดและให้เกิดประโยชน์สุงสุดแก่สถานศึกษา และในขณะเดียวกันคนที่ที่เราใช้งานต้องมีความสุข
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา ส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีและเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม ต้องให้นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเสมอภาค ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ


กิจกรรมที่1

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1

การบริหาร คือ ศิลปะของการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่นในการปฏิบัติตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรวมกันดำเนินให้บรรลุจุดประสงค์และจุดหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว
การศึกษา คือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดความงอกงามในตัวของบุคคล เพื่อใช้พัฒนาคุณภาพของผู้เรียน เกิดความรู้ ความคิด ความสามารถและความเป็นคนดี
 
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆด้าน นับทั้งแต่บุคลิกความรู้ความสามารถ และพฤติกรรมในด้านต่างๆ เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม และเพื่อต้องการให้บุคคลในสังคมพัฒนาตามเป้าหมาย