วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่9

การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าสนใจ
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
       บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
           การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน ผู้สอนควรจัดบรรยากาศทั้ง 2 ด้าน นี้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การสร้างบรรยากาศการเรียนรุ้ให้เกิดความสุขแก่ผู้เรียนเป็นองค์ ประกอบสำคัญประการหนึ่งที่จะสร้างคุณลักษณะนิสัยของการใฝ่เรียนรู้ การมีนิสัยรักการเรียนรู้ การเป็นคนดี และการมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั่งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป ซึ่งบุคคลสำคัญที่จะสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างมีความสุขให้เกิดขึ้นได้ คือ ครูผู้นำทางแห่งการเรียนรู้นั่นเอง

กิจกรรมที่8

                                                        กิจกรรมที่8
    
ครูมืออาชีพรุ่นใหม่
การจะเป็นครูมื่ออาชีพนั้นประกอบด้วยสิ่งหลายๆอย่าง
      1.  อยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และเอื้อต่อการเรียนรู้ 
      2.  ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าคิด กล้าถาม 
      3.  อย่าทำให้ห้องเรียน หรือโรงเรียนเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว กดดัน 
      4.  แต่จะต้องไม่มีการปล่อยปะละเลยเรื่องกฎระเบียบต่างๆ 
      5.  ครูยังคงต้องรักษามาตรฐานต่างๆ ไว้ด้วย  
      6.  นักเรียนควรที่จะถูกฝึกให้สามารถประเมินความสามารถ และผลงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง ไม่ลำเอียง คือ มีความรู้จักตนเอง
      7.  ครู โรงเรียน ครอบครัว และชุมชนควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 
      8.  เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติแล้ว การต่อยอดความคิดจะง่ายขึ้น 
      9.  ครูมืออาชีพต้องมีความสามารถในการขาย คือ  สามารถชี้แนะให้นักเรียนเห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการเรียนในวิชาดังกล่าวได้  หลักสำคัญในการขายคือ การชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่นักเรียนจะได้รับจากการเรียน  นอกจากนั้น ครูควรที่จะให้ความสำคัญกับหลักสูตรที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์จริง เน้นถึงวิธีการประยุกต์ความรู้

      ครูมืออาชีพ" เป็นความคาดหมายของการปฏิรูปการศึกษาของชาติในครั้งนี้อย่างยิ่ง การเป็น
มืออาชีพของครู จะทำให้การปฏิรูปการเรียนรู้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็น มนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการ
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ 
หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจ
ในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ 
วัฒนธรรมของชาติ การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล
ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ 
รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น
ผลงานอันน่าภาคภูมิใจของ "ครูมืออาชีพ" โดยแท้


กิจกรรมที่7

                                                    กิจกรรมที่7


             ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ เรื่อง  และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
              เรื่องการหา ห.ร.ม. ในชีวิตประจำวัน   ผู้สอน ครูธัญรัศน์  ประเสริฐศรี   โรงเรียนกันทรารมณ์  จังหวัดศรีสะเกษ
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
              เนื้อหาที่ใช้สอนจะเกี่ยวกับเรื่องการหารลงตัว  การหาตัวประกอบ ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา   ครูจัดให้นักเรียนนั่งกันเป็นกลุ่ม  แล้วให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมารับภาพมังคุด  ดาว  และส้ม  หลัง จากนั้นครูก็ให้นักเรียนแบ่งภาพต่างๆ  ออกเป็นกลุ่มตามที่ครูบอก  เมื่อนักเรียนทำได้ตามที่ครูบอกครูก็จะให้นักเรียนแบ่งภาพกันเองโดยมี เงื่อนไขว่าแต่ละกองต้องเท่ากัน  การแบ่งภาพแต่ละกองให้เท่ากันแต่ละกลุ่มอาจจะได้คำตอบไม่เหมือนกันซึ่ง เรื่องนี้จะทำให้นักเรียนรู้เรื่องการหาตัวประกอบ  และการหาตัวประกอบร่วม  เมื่อนักเรียนหาตัวประกอบเป็นนักเรียนก็จะรู้ว่า ห.ร.ม.  คือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุด หลังจากนั้นครูก็ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นการบริจาคของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อให้นักเรียนจำจวนของแต่ละชนิดใส่ถุง ซึ่งก็คือการหา  ห.ร.ม.  ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านสติปัญญาของผู้เรียนให้มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถนำอุปกรณ์ที่มีอยู่รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์  ครูได้มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยมีการพูดคุยกับซักถามผู้เรียนอยู่เสมอ  และเมื่อผู้เรียนตอบครูก็ให้เพื่อนในห้องตบมือให้เพื่อน
              
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม   ครูได้มอบหมายงานให้นักเรียนทำและปลูกฝังความรับผิดชอบในการทำงานให้กับนักเรียน 
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
             บรรยากาศในการจัดห้องเรียนมีการจัดห้องเรียนอย่างสะอาด   มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย     โต๊ะ เก้าอี้   มีการจัดอย่างเป็นระเบียบโดยจัดเป็นกลุ่ม  ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูน่าสนใจ  และตามฝาผนังห้องเรียนมีการจัดแต่งโดยการติดข้อความที่ให้ความรู้แก่นักเรียน